3.2 ภูเขาไฟ (volcano)

ภูเขาไฟ (volcano)

      ภูเขาไฟเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทรงพลังที่สุดของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่หล่อหลอมโลกของเรานับ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น นี่คือความกราดเกรี้ยวอย่างสุดขีดของธรรมชาติภูมิประเทศทั่วทุกหนแห่งล้อมรอบไปด้วยเปลวไฟ การปะทุเพียงครั้งเดียวก็ทำให้ฟ้ามืดไปทั่วทั้งทวีป และเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไปนานหลายร้อยปีการปะทุครั้งร้ายแรงที่สุดของภูเขาไฟ มีพลังงานมากกว่าอาวุธ นิวเคลียร์ทุกชนิดในปี 1815 เถ้าจากภูเขาไฟ แทมโบรา ได้สร้างให้เกิดภาพพระอาทิตย์ตกดินสีแดงฉานไปทั่วโลกนานถึง 3 ปี การปะทุที่ใหญ่กว่านั้นปิดกั้นลำแสงจากดวงอาทิตย์ไปนานหลายสิบปี สร้างให้เกิดความหายนะต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกและทำให้สายพันธุ์สัตว์ต้องพบกับการสูญพันธุ์ 
การเกิดภูเขาไฟ!!
    เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้นสิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)
      บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหินตัวอย่างเช่น นักธรณีวิทยาพบว่า บริเวณจังหวัดลำปางและบุรีรัมย์ เคยมีบริเวณที่หินหนืดถูกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และมีบางแห่ง เกิดการปะทุแบบภูเขาไฟ แต่ไม่รุนแรงมากนัก
ประเภทของภูเขาไฟ
1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)* เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone
* รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ
* ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก
* ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง
2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano)* เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส (Basic lava volcano) เพราะประกอบด้วยแร่เหล็กและแมกนีเซียม
* ลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า
* การระเบิดไม่รุนแรง จะมีเถ้าถ่านและเศษหินก้อนเล็ก และควันพ่นออกมาบริเวณปากปล่อง
3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone)* มีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ
* เป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดรุนแรงที่สุด
4. แบบสลับชั้น (Composite cone)* เป็นภูเขาที่มีรูปร่างสมมาตร (Symmetry)
* กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น บางชั้นประกอบด้วยลาวา และเถ้าถ่านสลับกันไป
* ถ้ามีการระเบิดรุนแรงจะมีลาวาไหลออกมาจากด้สนข้างของไหล่เขา
* เป็นภูเขาไฟที่มีปล่องขนาดใหญ่ และมีแอ่งปากปล่อง (Crater) ขนาดใหญ่ด้วย
ผลจากการเกิดภูเขาไฟระเบิด
 1. หินหนืดหรือลาวาพุ่งขึ้นมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ และไหลลงสู่บริเวณที่มีระดับต่ำกว่า สร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์2. เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการปรับตัวระหว่างหินหนืด กับชั้นหินบริเวณข้างเคียง3. เกิดแอ่งภูเขาไฟ
ลำดับเหตุการณ์การเกิดแอ่งภูเขาไฟ
     ที่เชื่อว่าเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ และการยุบตัวในบริเวณปล่องภูเขาไฟ1. การระเบิดของภูเขาไฟ เริ่มต้นด้วยการเกิดเฟียรีคลาวด์ (Fiery clouds) และก้อนเมฆที่ประกอบด้วยฝุ่นภูเขาไฟ (dust clouds)2. เมื่อการระเบิดดำเนินต่อไป บริเวณที่อยู่ใกล้กับปล่องภูเขาไฟจะแตก และพ่นขึ้นไปในอากาศ พร้อมกับมีลาวาไหลออกมา3. บริเวณยอดของภูเขาไฟจะยุบตัวลงมาแทนที่หินหนืดที่ไหลออกไป การเคลื่อนที่ออกมาสู่ผิวโลกของหินหนืดในระยะหลัง จะทำให้เกิดเนินภูเขาไฟในแอ่งภูเขาไฟ
ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ
1.แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
2.เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล3.ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ4.เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน
โทษของการเกิดภูเขาไฟ
1.เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
2.การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
3.ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย4.สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด
ภูเขาไฟในประเทศไทย
      ประเทศไทยจัดว่ามีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วทั้งหมด แต่ก็อาจเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ แต่จะไม่รุนแรง มากเท่าใดนัก ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในประเทศไทยมีดังนี้
1.ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง   จังหวัดบุรีรัมย์
2.ภูเขาไฟหินหลุบ       จังหวัดบุรีรัมย์
3.ภูเขาไฟอังคาร         จังหวัดบุรีรัมย์
4.ภูเขาไฟไบรบัด        จังหวัดบุรีรัมย์
5.ภูเขาไฟคอก            จังหวัดบุรีรัมย์

6.ภูเขาไฟกระโดง       จังหวัดบุรีรัมย์

7.ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด   จังหวัดลำปาง

8.ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู            จังหวัดลำปาง

ใส่ความเห็น